![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiQh0wdYSGrry5pUsArnBgzfypaZ7VqWlK7q_EOvTKEAciF476yt3TMxoTLDDQAq4E_29XsRjr_7K628wYBy60npFxDW8t6vtoLkQWMp1SBdaG8Y0citJ7BmHugI-gJxz5id1H4acWrX_8/s320/staphylococcus_aureus_electron_microscope.jpg)
เนื่องจากปัจจุบันในอากาศเต็มไปด้วยฝุ่นละออง สิ่งสกปรกจากมลภาวะต่างๆ และยังมีเชื้อแบคทีเรียปนมากับอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรีย Staphylococcus aureus เป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นทรงกลม พบทั่วไปบริเวณผิวหนัง และจมูกของคน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค minor skin infection เช่น สิว หนอง ฝี เป็นต้น และยังเป็นสาเหตุของโรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ปอดบวม , เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , เยื่อบุหัวใจอักเสบ , มีแบคทีเรียในกระแสเลือด , Toxic shock syndrome (TSS) เป็นต้น
ทางคณะผู้จัดทำจึงทำการศึกษาศึกษาหาสมุนไพรที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้ และนำสารสกัดสมุนไพรที่ได้มาทำโทนเนอร์ จากการศึกษาพบว่า ขมิ้นขาว ขมิ้นชัน มะกรูด และข่า สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1. เพื่อศึกษาการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ด้วยสารสกัดสมุนไพร
ขอบเขตการศึกษา
ตัวแปร
ตัวแปรต้น : พืชสมุนไพร ได้แก่ ขมิ้นขาว ขมิ้นชัน มะกรูด ข่าตัว
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. กำหนดปัญหา หาสาเหตุ และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
· ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรีย Staphylococcus aureus
· ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารสมุนไพรที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย
Staphylococcus aureus
· ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสกัดสารที่ดีที่สุดในการสกัดสารสมุนไพรที่
สามารถยับยั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus
2. ดำเนินการทดลอง
· วางแผนการดำเนินงาน
· ติดต่อขอใช้ห้องปฏิบัติการและขอแบคทีเรีย Staphylococcus aureus
บริสุทธิ์ จากภาควิชาจุลชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
· เลี้ยงแบคทีเรีย Staphylococcus aureus
· ทำการสกัดสารที่ศึกษาไว้มาสกัด โดยการสกัดมี 2 วิธี คือ สกัดโดย
เอทานอล และสกัดโดยเฮกเซน
3. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง
โดยสารสกัดใดมีรัศมีของ Clear Zone มากที่สุด แสดงว่าสารสกัดนั้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้ และเปรียบเทียบสารที่สกัดจากเอทานอลและเฮกเซน
4. สรุปและประมวลผล
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถหาสารสกัดยับยั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้
2. สามารถนำสารสกัดที่ศึกษาได้มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง และไม่เป็นอันตราย
ต่อผู้บริโภค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น